ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมครั้งหลังสุดเมื่อวันที่ 2-3 พ.ค. และท่าทีของเฟดที่แถลงภายหลังการประชุมชี้ให้เห็นว่าเฟดกำลังก้าวสู่เฟสใหม่ของการบริการจัดการภาวะวิกฤตจากการฟื้นตัวหลังโควิด-19
หากเฟดยุติการขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไป ก็จะหมายถึงว่าเป็นการสิ้นสุดวัฏจักรการขึ้นดอกเบี้ยที่เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ ท่ามกลางภาคธนาคารเผชิญกับปัญหาสภาพคล่อง และความเสี่ยงเศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย
“ดอกเบี้ยขาขึ้น” จุดชนวนวิกฤตแบงก์สหรัฐฯล้ม ประเมินเสี่ยงกระทบไทยแค่ไหน?
วิกฤติภาคธนาคารสหรัฐกดดันเฟด คาดขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ครั้งสุดท้าย
ดอกเบี้ยเฟด “ขึ้นต่อ หรือพอแค่นี้?” จับตาครึ่งปีหลังภาวะเศรษฐกิจถดถอย
อัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดก่อนวิกฤตการเงินครั้งหลังสุด หรือ วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เมื่อปี 2008
แม้ว่าเฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 5.00%-5.25% ตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้ แต่ถ้อยคำที่เฟดใช้เปลี่ยนไปจากเดิม โดยจเฟดจะพิจารณาว่าการขึ้นดอกเบี้ยในระยะต่อไปยังมีความจำเป็นหรือไม่
นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟด บอกว่าสหรัฐยังเผชิญกับเงินเฟ้อสูง แต่ก็มีสัญญาณชะลอตัวและความเสี่ยงจากสภาพคล่องตึงตัวในภาคธนาคารคำพูดจาก เว็บสล็อตเว็บตรง
นับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2565 เฟดขึ้นดอกเบี้ย 5.00% รวมทั้งสิ้น10 ครั้ง ซึ่งนับว่าเป็นการขึ้นดอกเบี้ยที่เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์นโยบายการเงินสหรัฐเพื่อสกัดเงินเฟ้อ แต่การเร่งขึ้นดอกเบี้ยกำลังส่งผลกระทบต่อภาคธนาคารและภาคธุรกิจ
แม้นายพาวเวลล์ จะบอกเป็นนัยว่าดอกเบี้ยขาขึ้นได้จบแล้ว แต่จะลดดอกเบี้ยตามที่ตลาดการเงินวิเคราะห์กันหรือไม่ อาจจะเร็วเกินไป ซึ่งหมายความว่าจากข้อมูลเศรษฐกิจในช่วงการประชุมครั้งนี้ คาดว่าในปีนี้ยังไม่เห็นการปรับลดดอกเบี้ย
นายพาวเวลล์ยังยืนยันว่านโยบายของเฟดที่ผ่านมานั้น "ถูกทาง"แม้ว่าการขึ้นดอกเบี้ยจะกระทบภาคธนาคารมากกว่าที่คาดไว้ แต่ก็หวังว่าจะสามารถหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้
แต่นโยบายดอกเบี้ยของเฟดจะซ้ำรอยอดีตหรือไม่ ในช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในปี 2008 ในช่วงนั้นดอกเบี้ยได้ขึ้นมาในระดับปัจจุบัน ก่อนที่วิกฤตจะตามมา และเฟดต้องลดดอกเบี้ยลง
ปัญหาใหญ่ของเฟด ทำอย่างไรเงินเฟ้อจะลดลงตามที่คาดการณ์ไว้ในเดือนมี.ค. แต่ปรากฏว่าเงินเฟ้อขยับลงอย่างช้า ๆ และยังสูงกว่าเป้าหมายที่ 2% กว่า 2 เท่า
ขณะนี้ ตลาดการเงินเริ่มมองไปไกลกว่า "ภาวถเศรษฐกิจถดถอย" เพราะประเมินว่าอย่างไรเสียคงหลีกเลี่ยงไม่พ้น แต่ที่กังวลมากกว่านั้นคือStagflation ที่จะตาม เมื่อเงินเฟ้อสูง แต่เศรษฐกิจชะลอ ทำให้ทุกอย่างชะงักงันตามมา