นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้ประชุมติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 6 หรือ M6 สายบางปะอิน-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กม. วงเงิน 84,600 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้กรมทางหลวง (ทล.) อยู่ระหว่างการปรับแบบการก่อสร้าง 16 ตอน เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติกรอบวงเงินเพิ่มเติม โดยจากการพิจารณาเบื้องต้นพบว่า รายละเอียดการปรับแบบฯ และข้อเสนอยังไม่ชัดเจนมากนัก จึงมอบให้ ทลคำพูดจาก ทดลองสล็อต pg. กลับไปเร่งปรับปรุงรายละเอียดฯ และนำกลับมาเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาอีกครั้ง ก่อนเสนอ ครม.พิจารณาต่อไป
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ส่วนการพิจารณาว่าจะเปิดให้ประชาชนใช้บริการมอเตอร์เวย์ M6 ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ ช่วง อ.ปากช่อง-อ.สีคิ้ว-อ.ขามทะเลสอ ระยะทาง 64 กิโลเมตร (กม.) ฟรีชั่วคราว ในช่วงวันหยุดยาวต่อเนื่องในเดือน ก.ค.65 จำนวน 2 ช่วง ได้แก่ วันที่ 13-17 ก.ค. และวันที่ 28-31 ก.ค.เหมือนช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 65 ได้หรือไม่นั้น จะมีการนำมาหารือในวันที่ 8 ก.ค.นี้ โดยจะเป็นหนึ่งในประเด็นของการประชุมเรื่องมาตรการอำนวยความสะดวก และความปลอดภัยด้านการเดินทางในช่วงวันหยุดยาวเดือน ก.ค.นี้ ของหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกระทรวงคมนาคม ทุกโหมดการเดินทาง ทั้งบก น้ำ ราง และอากาศ
รายงานข่าวแจ้งว่า อย่างไรก็ตามหากไม่สามารถเปิดบริการช่วงหยุดยาวนี้ได้ กระทรวงคมนาคมมีแผนเปิดบริการชั่วคราว เพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงเทศกาลปีใหม่ 66 โดยวางเป้าหมายขยายเส้นทางช่วง อ.ขามทะเลสอ ไปถึงทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมาอีก 13 กมคำพูดจาก ฟรี เกมสล็อตทดลองเล่น. รวมเป็น 76.75 กม. ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างตอนที่ 39 พื้นที่ อ.ขามทะเลสอ
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเริ่มการก่อสร้างโครงการ M6 เมื่อวันที่ 3 ส.ค.59 เดิมจะแล้วเสร็จภายในปี 63 แต่ได้ปรับแผนเปิดบริการ แม้ว่าการก่อสร้างภาพรวมก้าวหน้า 97% ก่อสร้างแล้วเสร็จ 24 ตอน จากทั้งหมด 40 ตอน เนื่องจากที่เหลือ 16 ตอน อยู่ระหว่างปรับแก้ไขแบบ เพื่อเตรียมเสนอกระทรวงคมนาคมและ คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติกรอบวงเงินเพิ่มประมาณ 6,500 ล้านบาท เพื่อใช้ก่อสร้างต่อไป
สาเหตุที่ต้องปรับแก้ไขแบบเนื่องจาก 1.โครงการออกแบบไว้ตั้งแต่ปี 2551 ใช้แบบประกวดราคาปี 2559 ช่วงเวลาผ่านไป 8 ปี บางตอนสภาพพื้นที่เปลี่ยนไป 2.ตอนออกแบบไม่เจาะสำรวจละเอียดว่าพื้นที่มีสภาพชั้นหินหรือชั้นดินแบบไหน เมื่อก่อสร้างสำรวจพบว่าเดิมออกแบบไว้เป็นดินถมซึ่งมีน้ำหนัก เมื่อนำมาใช้จริงไม่เหมาะในบางตอน เพราะต้องสร้างเสาเข็ม หรือสร้างโครงสร้างเพิ่มต้องปรับแบบให้เหมาะกับสภาพทางธรณีวิทยา โดยเฉพาะเรื่องชั้นดิน 3.การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ เช่น สร้างทางขนาน สร้างทางบริการ และสร้างทางลอดตอนออกแบบครั้งแรกไม่ทราบข้อมูลทั้งหมด และ 4.ข้อจำกัดหน่วยงานที่แนวเส้นทางมอเตอร์เวย์ผ่าน เช่น กรมชลประทาน ต้องสร้างสะพานข้ามคลองชลประทานเพิ่ม ตอนออกแบบไว้มีความสูงจากระดับผิวน้ำ 3 เมตร เมื่อดำเนินการจริงบางพื้นที่ต้องเพิ่มความสูงเป็น 4 เมตร
กรมทางหลวง (ทล.) ได้แก้ไขปัญหาด้วยการแต่งตั้งอาจารย์และนักวิชาการจากสถาบันการศึกษา สภาสภาวิศวกรและวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) มาเป็นคณะกรรมการร่วมตรวจสอบการแก้ไขแบบ เพื่อความโปร่งใส เบื้องต้นคาดว่าต้องเสนอขอเพิ่มวงเงินค่าปรับแบบก่อสร้างไม่เกิน 6,800 ล้านบาท ซึ่งไม่กระทบงบประมาณเพราะอยู่ในกรอบวงเงินงบประมาณ แต่ต้องเสนอ ครม.อนุมัติเห็นชอบ อีกทั้งการปรับแก้ไขแบบจะไม่กระทบกับงานก่อสร้างที่แล้วเสร็จ ไม่รื้อทุบทิ้งโครงสร้างแต่อย่างใด
เมื่อได้รับอนุมัติวงเงินในการปรับแก้ไขแบบแล้ว ทล. จะเร่งงานก่อสร้างอีก 16 ตอนให้แล้วเสร็จช่วงปลายปี 66 สอดคล้องกับการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ซึ่งผู้รับจ้างเข้าพื้นที่ก่อสร้างด่านจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง 9 ด่าน แล้ว รองรับการจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติพิเศษแบบไม่มีไม้กั้น (Multi-lane Free Flow) หรือระบบ M-Flow ด้วยคาดว่าจะติดตั้งระบบเสร็จตามแผนในปี 66 จากนั้นจะเปิดให้ทดลองใช้บริการฟรี 3 เดือน ก่อนเปิดบริการเต็มรูปแบบในปี 67 ซึ่งในช่วงเทศกาลจะให้ประชาชนใช้บริการฟรีชั่วคราว เพื่อช่วยระบายการจราจรบนทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ)
ทล.ไม่สามารถเปิดบริการช่วงที่สร้างเสร็จไปก่อนได้ตลอดเวลา เนื่องจากเป็นทางพิเศษ ที่ควบคุมการเข้าออกด้วยระบบการจัดเก็บค่าผ่านทาง ซึ่งยังไม่แล้วเสร็จ ประกอบกับช่วงเปิดบริการชั่วคราวต้องใช้กำลังเจ้าหน้าที่จำนวนมากบริหารจัดการและดูแลอำนวยความสะดวกประชาชนตลอดช่วงเวลาที่เปิดบริการ