ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในปัจจุบัน เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI-Artificial Intelligence) รวมถึง Chatbot ได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนทำให้หลายๆ คนอดกังวลไม่ได้ว่า เทคโนโลยีเหล่านี้จะเข้ามาส่งผลดี หรือผลเสียต่อชีวิตในอนาคตมากกว่ากัน
อย่างไรก็ดี ในแง่มุมของการบริการด้านสุขภาพ การมีเทคโนโลยี AI และ Chatbot เข้ามา นับเป็นวิทยาการที่ส่งผลดีต่อทั้งผู้ให้บริการและประชาชนผู้รับบริการอย่างมาก เพราะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการอย่างมาก ส่งผลให้ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ได้ทำการวิเคราะห์ลู่ทางทางธุรกิจของ AI และ Chatbot ต่อตลาดการให้บริการด้านสุขภาพ ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มเติบโตได้ในอัตราสูง
ข้อมูลจาก statista.com ระบุว่า ในปี 2564 เทคโนโลยี AI ในตลาดธุรกิจด้านสุขภาพทั่วโลก มีมูลค่ากว่า 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีการคาดการณ์ว่าเทคโนโลยี AI ในตลาดดังกล่าว จะมีมูลค่าสูงถึงเกือบ 1.88 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2573 หรือมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยในช่วงปี 2565-2573 อยู่ที่ร้อยละ 37 ต่อปี
โดยเฉพาะ ChatGPT (Generative Pretrained Transformer) ซึ่งเป็นเทคโนโลยี AI Chatbot ที่กำลังเป็นกระแสในปัจจุบัน จะเข้ามามีบทบาท ช่วยในการจัดการฐานข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วยเพื่อการวินิจฉัยโรค การคัดกรอง และดูแลผู้ป่วยได้มาก เพราะ ChatGPT จะเหนือกว่าโปรแกรม Chatbot ทั่วไป
โดยมีการประมวลผลทางสถิติและความน่าจะเป็น ซึ่งเป็นความสามารถของอัลกอริทึมปัญญาประดิษฐ์ และวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาล (Big Data) อีกทั้งสามารถตอบคำถามในรูปแบบข้อความเสมือนมนุษย์ จึงเป็นจุดเด่นทำให้ ChatGPT แตกต่างจากโปรแกรม Chatbot อื่นๆ
นอกจากนี้ ในงานศึกษาวิจัยของ Tbilisi State Medical University ที่สนับสนุนถึงโอกาสและแนวทางการพัฒนา ChatGPT มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและต่อยอดการให้บริการในธุรกิจสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแพทย์ทางไกล การอำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยในการเข้ารับบริการ ช่วยลดต้นทุนให้กับธุรกิจ ลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ ช่วยให้ผู้ประกอบการด้านธุรกิจสุขภาพสามารถดำเนินกิจการได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ตัวอย่างแนวทางการประยุกต์ใช้ ChatGPT กับธุรกิจบริการสุขภาพ เช่น การให้บริการการแพทย์ทางไกล โดยช่วยประเมินข้อมูลการรักษาเบื้องต้นจากฐานข้อมูลผู้ป่วย การวางแผนและประเมินการรักษาผู้ป่วยแบบรายบุคคลที่เหมาะสมรวดเร็วและแม่นยำขึ้น การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ถึงปัญหาสุขภาพในอนาคต ทำให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถดูแลผู้ป่วยได้แต่เนิ่นๆ รวมถึงช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเฝ้าระวังความเสี่ยงปัญหาสุขภาพของตน ช่วยติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง และยังสามารถนำมาใช้ด้านการสนับสนุนฟื้นฟูและประเมินสุขภาพจิตของผู้ป่วย คัดกรองความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตของผู้ป่วยได้ อีกทั้ง ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการในองค์กร เช่น การตอบคำถามเบื้องต้นในการเข้ารับบริการ ลงทะเบียนให้กับผู้ป่วย การจัดการเวชระเบียนและเวชสถิติในโรงพยาบาล และการจัดเก็บและสืบค้นบันทึกข้อมูลประวัติผู้ป่วย เป็นต้น
ในส่วนของไทย ก็มีความก้าวหน้าในการนำ AI มาใช้ในธุรกิจด้านสุขภาพมากขึ้น เช่น ซอฟต์แวร์ AI เพื่อคัดกรองมะเร็ง ‘Chest 4 All’ โดยความร่วมมือของ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันทรวงอก โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และหุ่นยนต์ลำเลียงยาอัตโนมัติ ‘B-Hive 1’ ที่โรงพยาบาลศิริราช นำมาช่วยเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของเภสัชกร เป็นต้น
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวว่า ธุรกิจการให้บริการทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพของไทยมีศักยภาพ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ไทยเป็นอันดับ 5 จาก 195 ประเทศ ของดัชนีความมั่นคงทางสุขภาพ (Global Health Security Index: GHS) ประจำปี 2564 (ล่าสุด) นอกจากนี้ ประเทศไทยมีเป้าหมายการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็น “ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub)” ภายในปี 2569 ประกอบกับกระแสการดูแลรักษาสุขภาพที่สูงขึ้น และการเข้าสู่สังคมสูงวัย
ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ธุรกิจด้านการดูแลรักษาสุขภาพมีความต้องการมากขึ้น เพราะประเทศไทยยังมีข้อจำกัดทั้งด้านภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีปริมาณมาก การเข้าถึงและความครอบคลุมของบริการทางการแพทย์ ดังนั้น การพัฒนาเทคโนโลยีจะช่วยให้ธุรกิจด้านสุขภาพสามารถบริหารราคาค่าบริการที่ถูกลง ในอีกทางหนึ่ง การพัฒนาเทคโนโลยีบริการทางการแพทย์ จะช่วยให้ผู้คนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ง่ายขึ้นด้วยต้นทุนที่ต่ำลง นำไปสู่การเติบโตของธุรกิจเกี่ยวเนื่องต่างๆ เช่น เภสัชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ และอุปกรณ์อัจฉริยะแบบสวมใส่ได้ (Smart Wearable Devices) ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
แต่ขณะเดียวกัน ภาครัฐควรสนับสนุนและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการบริการดังกล่าว ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจนำไปใช้แพร่หลาย รวมถึงปรับปรุงมาตรการและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบประกันสุขภาพที่ครอบคลุมการรักษาทางไกล เป็นต้น ซึ่งผู้ประกอบการไทยก็ต้องเร่งปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การให้บริการของธุรกิจ ให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยเช่นกันคำพูดจาก สล็อต true wallet
เชื่อว่าหลังจากนี้ChatGPT จะมีการนำมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจบริการด้านสุขภาพมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยีนี้ช่วยให้ธุรกิจบริการด้านสุขภาพลดต้นทุน ลดภาระงานของบุคลากร และเพิ่มคุณภาพการให้บริการ ขยายฐานบริการและสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Creation) ให้กับธุรกิจ รวมทั้งยังสามารถลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ป่วยได้อีกด้วย
อย่างไรก็ดี ChatGPT ยังคงอยู่ในช่วงของการพัฒนา ทำให้อาจยังมีข้อจำกัดในเชิงการวินิจฉัยโรคที่แม่นยำ ต้องระมัดระวังความถูกต้องของข้อมูล รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าเชื่อถือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านสุขภาพของผู้รับบริการ เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้รับบริการ เช่นกัน