KBANK กำไรไตรมาส 2 เพิ่มเล็กน้อย 1.85% หนี้เสียลูกค้ารายใหญ่กดดัน
SCB กำไรสุทธิไตรมาส 2 พุ่ง 18.1% รายได้ดอกเบี้ยแตะ 30,000 ล้าน
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB รายงานงบการเงินประจำไตรมาส 2 ปี 66 ธนาคารและบริษัท ย่อยมีกำไรสุทธิ 10,156 ล้านบาท เติบโต 21.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีรายได้รวม 35,715 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ส่งผลให้รวม 6 เดือนแรกของปี 66 มีกำไรเท่ากับ 20,223 เติบโต 18% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีรายได้รวม 70,987 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ ไตรมาส 2 อยู่ที่ 27,771 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 35.3 % จากการเติบโตของกลุ่มสินเชื่อ ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวขึ้น
รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ ไตรมาส 2 เท่ากับ 4,797 ล้านบาท ลดลง 2.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากค่าธรรมเนียมจัดการกองทุนชะลอตัว ซึ่งเป็นไปตามภาวะตลาด
รายได้จากการดำเนินงานอื่น ๆ ไตรมาส 2 เท่ากับ 3,147 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ทั้งนี้ธนาคารและบริษัทย่อย ตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) เท่ากับ 7,755 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลง 4.3% จากไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่อัตราส่วนหนี้เสียต่อสินเชื่อรวมเท่ากับ 3.11% ลดลงจาก 3.26% ณ สิ้นปี 2565
สำหรับอัตราส่วนสำรองต่อสินเชื่อที่มีการดอ้ยค่าด้านเครดิต (Coverage Ratio) ณ สิ้นไตรมาส 2/66 อยู่ที่ 177.4%
ธนาคารกรุงไทย ระบุถึงภาวะเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าว่า ยังเผชิญความท้าทายจากการเปลี่ยนผ่านเชิงนโยบายเพื่อกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทั้งการทยอยลดบทบาทมาตรการภาครัฐ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในขณะที่ภาคธุรกิจยังต้องเผชิญแรงกดดันจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกกดดันภาคการ ส่งออกและภาคการท่องเที่ยว รวมถึงภาวะหนี้ครัวเรือนในระดับสูงคำพูดจาก เว็บสล็อต
โดยธนาคารฯ จึงให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่าง ระมัดระวัง และบริหารจัดการคุณภำพสินทรัพย์อย่างใกล้ชิด เพื่อรักษาระดับของ Coverage Ratio ในระดับสูง รองรับความไม่ แน่นอนทำงเศรษฐกิจ โดยธนาคารมีความห่วงใยและตระหนักถึงผลกระทบจากภาระค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น พร้อมยืนหยัดดูแล ช่วยเหลือลูกค้ำทุกกลุ่มในกำรแก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่อ่อนไหวกับภาระค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ให้สามารถประคับประคองตัวในการดำรงชีพได้
อ่านรายละเอียดฉบับเต็ม :คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ งวดครึ่งปี สิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย. 2566