ทีมนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งอิตาลี (IIT) สร้างแบตเตอรี่นี้ขึ้นจากผลิตภัณฑ์อาหารทั้งหมด ได้แก่ แอลมอนด์ ลูกเคเปอร์ ถ่านกัมมันต์ สาหร่าย ทองคำแผ่น และขี้ผึ้ง
มาริโอ ไคโรนี ผู้ประสานงานโครงการ อธิบายว่า แกนกลางอุปกรณ์นี้คือขั้วไฟฟ้า 2 อัน ซึ่งการจะให้มันทำงานได้นั้น ต้องใช้วัตถุสองชนิด สองโมเลกุล โดยขั้วบวก พวกเขาใช้ไรโบฟลาวิน ซึ่งเป็นวิตามินที่พบได้ในแอลมอนด์ ส่วนขั้วลบ พวกเขาใช้เควอซิทิน ซึ่งเป็นสารสีในผัก พบได้ในลูกเคเปอร์
แบตเตอรี่นี้ยังใช้ถ่านกัมมันต์เพื่อเพิ่มการนำไฟฟ้า ขณะที่ตัวกั้นข้างในแบตเตอรี่ที่ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรทำมาจากสาหร่ายโนริ ที่ใช้ห่อซูชิทั่วไป ขั้วไฟฟ้าของแบตเตอรี่จะถูกหุ้มด้วยขี้ผึ้ง และมีจุดสัมผัสเป็นทองคำแผ่น รองรับด้วยฐานเซลลูโลส
ไคโรนี ระบุว่า แบตเตอรี่ทานได้จะช่วยให้เรากลืนอุปกรณ์ เช่น เซ็นเซอร์ เข้าไป และย่อยได้เหมือนอาหารทั่วไป เมื่อทำหน้าที่เสร็จแล้วคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ทีมนักวิจัยหวังว่า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่รับประทานได้จะส่งผลอย่างมากต่อการวินิจฉัยและการรักษาอาการในระบบทางเดินอาหาร รวมถึงยังสามารถใช้ติดตามคุณภาพอาหารได้ด้วย
อุปกรณ์ที่ทานเข้าไปได้นั้นปัจจุบันมีอยู่แล้ว แต่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ ซึ่งหมายความว่าหากมีปัญหาระหว่างขั้นตอนการย่อย ก็อาจต้องผ่าตัดเอาออกมา แต่อุปกรณ์ที่นักวิจัยอิตาลีพัฒนาขึ้นนั้นสามารถย่อยได้ โดยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ต้นแบบแบตเตอรี่ทานได้นี้ทำงานที่แรงดันไฟ 0.65 โวลต์ ซึ่งต่ำเกินกว่าที่จะสร้างปัญหาในร่างกายมนุษย์ และจ่ายไฟได้ 48 ไมโครแอมป์ เป็นเวลาสูงสุด 12 นาที โดยสามารถจ่ายพลังงานให้หลอดแอลอีดีเล็กๆ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดจิ๋วอื่นๆ ได้
ซึ่งตอนนี้ ทีมนักวิจัยกำลังหาทางเพิ่มกำลังไฟฟ้า รวมถึงทำให้แบตเตอรี่มีขนาดเล็กลงเท่ากับแคปซูลยาที่กลืนเข้าไปได้ง่ายกว่า