กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) เผยแพร่รายงานฉบับใหม่เมื่อวันจันทร์ (22 พ.ค.) ที่ผ่านมา ซึ่งระบุว่า สิ่งมีชีวิตเกือบ 400 สปีชีส์ที่เพิ่งค้นพบในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เนื่องจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยจากกิจกรรมของมนุษย์
การค้นพบนี้จัดทำโดยทีมนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยนานาชาติที่ทำงานใน 5 ประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมากแห่งหนึ่งของโลก และเป็นพื้นที่ที่ยังคงมีการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ ๆ อยู่เสมอ
สิ่งมีชีวิตใหม่ ๆ ที่พบก็เช่น ตุ๊กแกหัวงอ (Cyrtodactylus rukhadeva) ถูกค้นพบในเทือกเขาตะนาวศรีของประเทศไทยที่มีพรมแดนติดกับประเทศเมียนมา วิถีชีวิตส่วนใหญ่ของพวกมันอยู่บนต้นไม้ จึงได้ชื่อมาจากรุกขเทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกป้องต้นไม้และป่าตามความเชื่อของไทย
ยังมีการค้นพบกล้วยไม้สกุล Dendrobium fuscifaucium ซึ่งถูกค้นพบโดยบังเอิญจากการที่มีคนนำมาวางขายในเวียงจันทน์ของลาว เมื่อมันออกดอก ผู้ขายได้ส่งภาพถ่ายไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านกล้วยไม้เอเชียตรวจสอบ และเชื่อว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่ แต่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่พบว่าจุดที่มันออกดอกในป่าตามธรรมชาติ
นอกจากนี้ ยังมีคางคกขนาดเล็กสายพันธุ์ใหม่ที่พบในคาบสมุทรไทย-มาเลย์ ซึ่งได้ ได้รับการตั้งชื่อว่า Ansonia infernalis หรือคางคกธารนรก เนื่องจากแขนขาและสีข้างมีสีส้มแดงสดใส คล้ายกับเปลวไฟจากนรก
นิวยอร์กกำลังทรุดตัว-จมลงต่อเนื่อง จากน้ำหนักตึกสูงที่มากเกินไป
จำนวนประชากรสัตว์ป่าบนโลก กำลังลดลงเร็วกว่าที่คาด!
“ดาวเสาร์” ทวงคืนบัลลังก์ ดาวเคราะห์ที่มีดวงจันทร์มากสุดในระบบสุริยะ คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิตใหม่ ๆ ที่ถูกค้นพบในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้าหากชีวิตที่เพิ่งถูกค้นพบเหล่านี้กำลังถูกคุกคามและอาจเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
เค. โยกานันด์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ป่าในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงของ WWF กล่าวว่า “สายพันธุ์ที่น่าทึ่งเหล่านี้อาจยังใหม่สำหรับวงการวิทยาศาสตร์ แต่พวกมันอยู่รอดและวิวัฒนาการในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงมาเป็นเวลาหลายล้านปี เตือนให้มนุษย์เรารู้ว่า พวกมันอยู่ที่นั่นเป็นเวลานานมากก่อนที่มนุษย์จะย้ายเข้ามาในภูมิภาคนี้เสียอีก”
เขาเสริมว่า “เรามีหน้าที่ต้องทำทุกอย่างเพื่อหยุดการสูญพันธุ์ของพวกมัน ปกป้องที่อยู่อาศัยของพวกมัน และช่วยฟื้นฟูพวกมัน”
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจำนวนมาก เป็นพืช 290 ชนิด ปลา 19 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 24 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 46 ชนิด และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 1 ชนิด ทำให้จำนวนสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่พบในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงนับตั้งแต่ปี 1997 เป็นต้นมา มีมากกว่า 4,000 ชนิด
แต่ในขณะที่การค้นพบดังกล่าวเน้นย้ำถึงความหลากหลายทางชีวภาพอันอุดมสมบูรณ์ของภูมิภาคนี้ การค้นพบนี้ยังเน้นให้เห็นถึงภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นซึ่งเกิดจากฝีมือมนุษย์ โดยเฉพาะการบุกรุกถิ่นที่อยู่
เถื่อง เหวียน จากสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเวียดนาม กล่าวว่า ความหลากหลายทางชีวภาพอันอุดมสมบูรณ์ของภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเผชิญกับแรงกดดันมหาศาลจากการพัฒนาเศรษฐกิจและการเติบโตของประชากรมนุษย์ ซึ่งผลักดันให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า มลพิษ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไป
ด้าน มาร์ก ไรต์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิทยาศาสตร์ของ WWF สหราชอาณาจักร กล่าวว่า “ในขณะที่รายงานฉบับใหม่เตือนเราถึงความหลากหลายที่ไม่ธรรมดาและความสร้างสรรค์ของธรรมชาติ รายงานนี้ยังทำหน้าที่เป็นเครื่องเตือนใจถึงอันตรายร้ายแรงที่สิ่งมีชีวิตและแหล่งที่อยู่อาศัยต้องเผชิญ และสิ่งที่เราเสี่ยงต่อการสูญเสียหากไม่มีการดำเนินการอย่างเร่งด่วนและมุ่งมั่น”
เรียบเรียงจาก CNN
ภาพจาก AFP